อะไรเอ่ยตัวพองขนฟูหน้ามุ่ย คำตอบคือ เจ้าเหมียวพัลลัส แมวป่าขนาดเล็กที่ขึ้นชื่อเรื่องรูปลักษณ์แปลกตาด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่ไปกว่าแมวบ้าน แต่กลับมีขนฟูฟ่องหนาแน่น ทำให้ดูพองกลมเกินปกติ แต่ระวังอย่าให้ถูกหน้าตาน่ารักน่าชังของมันหลอกเป็นอันขาด เพราะเห็นอย่างนี้แมวพันธุ์นี้ก็เป็นสัตว์ที่ดุร้ายก้าวร้าวไม่ต่างจากแมวพันธุ์ใหญ่ๆเลย พวกมันยังมีเรื่องราวน่าสนใจอีกมากมายที่เราอยากให้คุณรู้ขอเชิญคุณมาทำความรู้จักกับแมวป่า ที่พองฟูที่สุดในโลก ณ บัดนี้

แมวพัลลัส ข้อมูลโดยทั่วไปและลักษณะพฤติกรรม

แมวพัลลัส (Pallas’s cat) ได้ถูกค้นพบและศึกษาครั้งแรกโดย ปีเตอร์ ไซมอน พัลลัส (Peter Simon Pallas) นักสัตววิทยาและนักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเซียในปี 1776 ในตอนนั้นเขาจำแนกแมวชนิดนี้ให้อยู่ในสกุลเฟลิส (Felis) หรือแมวเล็กทั่วไป ทั้งยังเข้าใจผิดว่ามันเป็นบรรพบุรุษของ แมวเปอร์เซีย เนื่องจากมีโครงร่างแข็งแรง ขนยาวหนาฟู และหน้าแบนคล้ายกัน แต่ในปัจจุบันรู้แล้วว่าไม่ใช่ แมวพัลลัสอยู่ในสกุล Otocolobus ซึ่งจากการศึกษาพันธุกรรมพบว่า สกุลของมันวิวัฒนาการแยกสายจากบรรพบุรุษของวงเสือและแมวหลายล้านปีก่อนหน้าสกุลแมวเล็กทั่วไป 

ซึ่งหมายความว่าแมวพัลลัสไม่ได้เป็นเครือญาติใกล้ชิดกับ แมวเปอร์เซีย หรือแมวเล็กพันธุ์อื่นๆเลย แมวพัลลัส อาจดูพองฟูน่ากอด น่าฟัด แต่แท้จริงแล้วมันไม่ใช่สัตว์โลกน่ารักเลย เพราะเป็นสัตว์ป่าที่ก้าวร้าวสุดๆ มีเรื่องเล่าจากผู้อำนวยการสวนสัตว์เมืองซินซิเนติว่า ครั้งหนึ่งลูกแมวพัลลัดแรกเกิดส่งเสียงฟึดฟัด ทำให้เจ้าหน้าที่กังวลว่าพวกมันอาจหายใจติดขัด แต่พอได้ฟังใกล้ๆพวกเขาถึงได้รู้ว่าลูกแมวพลลัสกำลังส่งเสียงคำรามและขู่กันเองต่างหาก ทั้งที่พวกมันเล็กมากและตายังไม่เปิดเลยด้วยซ้ำ เรียกได้ว่าเป็นสายพันธุ์แมวที่โหดและดุร้ายตั้งแต่เกิด

แมวพัลลัส

ลักษณะรูปร่างของแมวพัลลัส

แมวพัลลัสเป็นแมวป่าไซส์เล็ก ที่มีขนาดพอๆกับแมวบ้าน ความยาวประมาณ 46-55 เซนติเมตรและน้ำหนักประมาณ 2.5 ถึง 4.5 กก. แต่ด้วยความที่ขนสีเทาสลับเหลืองของพวกมันยาวและหนาแน่นมากทำให้ตัวพองกลมจนดูใหญ่กว่าความเป็นจริง ลำตัวจะมีขนนุ่มๆอัดแน่นอยู่ถึง 9,000 เส้น จึงพูดได้ว่าพวกมันเป็นแมวที่มีขนแมวมากที่สุด ในบรรดาแมวสายพันธุ์ธรรมชาติทั้งหมด แมวพัลลัสอาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้าโขดหินและหุบเขาลึก ซึ่งมีหิมะปกคลุมอย่างต่อเนื่องไม่เกิน 15-20 เซนติเมตร ตั้งแต่บริเวณเทือกเขาคอเคซัสตะวันออกไปจนถึงเอเชียกลาง มองโกเลียที่ราบสูงทิเบตและบางส่วนของเทือกเขาหิมาลัย

ที่อยู่อาศัยของแมวพัลลัส

แมวพัลลัสจะใช้กลิ่นในการบ่งบอกอาณาเขตของตัวเอง โดยตัวผู้จะครอบครองอาณาเขตใหญ่กว่าตัวเมียซึ่งอาจทับซ้อนกับอาณาเขตของตัวเมีย 2-3 ตัว แมวพัลลัสเป็นสัตว์ที่รักสันโดษและชอบหลบซ่อนตัว พวกมันแฝงตัวอย่างแนบเนียนในสภาพแวดล้อมและกลมกลืนไปกับฉากหลัง เคลื่อนไหวอย่างแช่มช้าและเงียบเชียบโดยมีจุดมุ่งหมาย พวกมันเป็นนักล่าที่เก่งกาจ มักสะกดรอยตามเหยื่อแล้วซุ่มโจมตีอย่างรวดเร็วบางครั้งพวกมันก็ดักรออยู่หน้าโพรงของเหยื่อ 

ซึ่งกระเจิงตะครุบเหยื่อผู้น่าสงสารทันทีที่ก้าวออกจากบ้านส่วนใหญ่แมวพัลลัสจะออกปฏิบัติการล่าเหยื่อในช่วงโพล้เพล้ที่ตะวันจวนจะรับขอบฟ้า แต่ก็มีบ้างเหมือนกันที่ทำงานตอนกลางวันแสกๆ โดยปกติในช่วงกลางวันแมวพันธุ์นี้จะพักอยู่ในซอกหินหรือโพรงเล็กๆซึ่งบ่อยครั้งสถานที่ที่พวกมันใช้เป็นบ้านก็คือโครงร้างของ กระรอกมาร์มอต พูดง่ายๆก็คือเจ้าแมวตัวพองถ้าไปยึดครองที่ที่สัตว์ชนิดอื่นขุดไว้นั่นเอง 

ลักษณะนิสัย

อย่างไรก็ตามแม้แมวพัลลัสจะเป็นนักล่ามือฉมังและดุร้ายไม่แพ้แมวใหญ่ แต่มันอาจไม่ได้น่าสะพรึงกลัวเท่าไหร่นัก เพราะด้วยร่างกายสั้นๆกลมๆทำให้มันเป็นสัตว์ที่ไม่ได้วิ่งเร็ว ขาหลังที่สั้น ไม่ยาวและแข็งแรงเหมือนแมวป่าชนิดอื่น ทำให้วิ่งช้าแมวพัลลัสจึงต้องล่าเหยื่อด้วยการกระดึ๊บ การสะกดรอยตาม ซ่อนตัวตามพุ่มไม้และก้อนหิน แล้วค่อยซุ่มโจมตีเหยื่อระยะใกล้โดยไม่ให้ตั้งตัว 

การสืบพันธุ์

ตัวผู้จะผสมพันธุ์กับตัวเมียหลายตัวในฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเดือนธันวาคม-มีนาคม ในช่วงนี้ตัวผู้จะคอยติดตามตัวเมียเป็นเวลาหลายวัน และบางครั้งก็แสดงความเป็นเจ้าของ พยายามปกป้องแมวตัวเมียจากตัวผู้ตัวอื่น แมวพัลลัสตัวเมียจะตั้งท้องประมาณ 9-10 สัปดาห์ และคลอดลูกในปลายเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ในคลอกหนึ่งอาจมีลูกแมวได้ตั้งแต่ 1-6 ตัว แต่ส่วนใหญ่มักมีครอกละ 3-4 ตัว ลูกแมวพัลลัสจะอยู่แต่ในรังจนอายุ 2 เดือน เมื่ออายุ 3-4 เดือนจึงเริ่มตามแม่ออกไปหาอาหาร แล้วค่อยเริ่มแยกย้ายไปใช้ชีวิตตามลำพังเมื่ออายุ 4-5 เดือน 

ซึ่งพอถึงตอนนั้นส่วนใหญ่จะมีขนาดและน้ำหนักโตเต็มที่แล้วจากนั้น ภายใน 1 ปีร่างกายของพวกมันก็จะเติบโตเต็มตัว และพร้อมสำหรับการเจริญพันธุ์ แมวพัลลัสมีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 8 ปี แต่ถ้าถูกเลี้ยงในสวนสัตว์จะสามารถมีอายุยืนได้ถึง 12 ปี น่าเสียดายที่แมวพัลลัสมีอัตราการตายสูงมาก มีลูกแมวถึง 68% ที่ไม่สามารถอยู่รอดจนได้ออกไปใช้ชีวิตของตัวเอง ส่วนแมวที่โชคดีได้โตก็มีถึง 50% แต่ก็ต้องตายในฤดูหนาว นอกจากนั้นพวกมันยังถูกมนุษย์ได้อย่างผิดกฎหมายเพราะต้องการขน แถมตัว โวล และ พิก้า ที่เป็นอาหารหลักของแมวพัลลัสยังถูกมนุษย์วางยา กำจัด ทำให้พวกมันมีอาหารกินน้อยลง

แมวพัลลัส

อย่างไรก็ตามจำนวนประชากรของแมวพัลลัสในปัจจุบันถือว่ายังไม่อยู่ในระดับที่น่ากังวล เนื่องจากมีการแพร่กระจายอย่างกว้างขวางและได้รับการอนุรักษ์จากหน่วยงานในหลายประเทศ และคาดการณ์ได้ว่ามี แมวพันธุ์อื่น และโตเต็มวัยอยู่ทั้งหมดประมาณ 58,000 ตัว แต่ในบางพื้นที่ที่จำนวนของพวกมันเริ่มลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญก็จำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อให้มั่นใจว่าเราจะมีก้อนทองฟูอยู่คู่โลกไปอีกนานแสนนาน